บาคาร่าออนไลน์ กรมอนามัยเอาจริง ลงพื้นที่ตรวจโรงภาพยนตร์ หลังผ่อนคลายระยะ 3

บาคาร่าออนไลน์ กรมอนามัยเอาจริง ลงพื้นที่ตรวจโรงภาพยนตร์ หลังผ่อนคลายระยะ 3

กรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข เยี่ยมชมกิจการโรง บาคาร่าออนไลน์ ภาพยนตร์หลังได้รับการผ่อนคลายในระยะที่ 3 เน้นย้ำ เจ้าของสถานประกอบกิจการ  พนักงานผู้ให้บริการ รวมถึงผู้ใช้บริการ ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการสวมหน้ากาก เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลและที่นั่ง และล้างมือบ่อย ๆ เพื่อลดการแพร่กระจายของโรคโควิด 19

วานนี้  แพทย์หญิงพรรณพิมล  วิปุลากร  อธิบดีกรมอนามัย 

เปิดเผยภายหลังการเยี่ยมชมกิจการที่ได้รับการผ่อนคลายประเภทโรงภาพยนตร์ ณ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน  กรุงเทพมหานคร ว่า โรงภาพยนตร์เป็นกิจการหนึ่งที่ได้รับการผ่อนคลายระยะที่ 3 โดยจำกัดจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมไม่เกิน 200 คน เนื่องจากเป็นอาคารปิดที่มีระบบปรับอากาศ มีผู้รับชมจำนวนมาก จึงอาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ ทั้งจากการสัมผัสระหว่างบุคคล หรือการสัมผัสจากอุปกรณ์ต่าง ๆ เจ้าของสถานประกอบกิจการ จึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ดังนี้ 1) กำหนดจุดคัดกรองพนักงานและผู้ใช้บริการ บันทึกรายชื่อ เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ วันที่และเวลา หรือลงทะเบียนผ่านแพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” เพื่อให้สามารถติดตามตัวได้ กรณีต้องมีการสอบสวนโรค 2) ให้พนักงานและผู้ใช้บริการ ต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันตนเองที่จำเป็นสำหรับพนักงาน เช่น ถุงมือ แผ่นใสครอบหน้า (Face shield) เป็นต้น 3) จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการไม่ให้แออัด งดกิจกรรมที่อาจมีความเสี่ยงต่อการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล และลดระยะเวลาในการเข้าใช้บริการ โดยให้มีการลงทะเบียนเพื่อจองคิว รวมทั้งลดการสัมผัส เช่น การจองตั๋วและจ่ายเงินแบบออนไลน์ 4) จัดระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร และจัดที่นั่งชมภาพยนตร์ให้เว้นระยะห่างระหว่างที่นั่งทุก 2 ที่นั่ง และระยะห่างระหว่างแถว    อย่างน้อย 1 แถว และ 5) ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัส อุปกรณ์ เครื่องใช้ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดและอาจฆ่าเชื้อ เน้นจุดสัมผัสร่วม เช่น เคาน์เตอร์จำหน่ายบัตร ตู้จำหน่ายบัตร จุดนั่งพักรอ ที่นั่งชมภาพยนตร์ ด้ามจับประตู ราวบันได รวมถึงห้องส้วม

“สำหรับพนักงานหรือผู้ให้บริการ ต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า โดยอาจสวมแผ่นใสครอบหน้า (Face Shield) ตลอดเวลาปฏิบัติงาน หมั่นล้างมือหรือใช้เจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ และรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร รวมทั้งให้สังเกตอาการตนเองและดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด หากพบอาการเข้าข่ายตามที่เฝ้าระวังให้หยุดปฏิบัติงาน แจ้งหัวหน้างานและพบแพทย์ทันที  ในส่วนของผู้ใช้บริการ ต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อไปใช้บริการ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลย่างน้อย 1 เมตร และปฏิบัติตามคำแนะนำของสถานประกอบกิจการอย่างเคร่งครัด และภายหลังการใช้บริการควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ก่อนหยิบจับของใช้ส่วนตัว และอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งเมื่อกลับถึงบ้าน ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการใช้พื้นที่โรงภาพยนตร์เปิดตัวกิจกรรมต่าง ๆ หรือจัดงาน Meeting Fan Club ศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศ จำเป็นต้องมีการจัดระเบียบและคุมเข้มเรื่องการเว้นระยะห่างระหว่างกัน โดยต้องไม่รวมกลุ่มกันแน่นจนเกินไป และขอให้สวมหน้ากากทุกครั้งเมื่อเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ด้วย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคโควิด 19” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

กรมวิทย์ฯ เผยขั้นตอนการทดลอง วัคซีนโควิด-19

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยขั้นตอนการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในหนูที่ได้รับวัคซีนต้นแบบ โควิด 19 ด้วยวิธี Plaque Reduction Neutralization Test (PRNT) โดยเน้นย้ำถ้าเซรั่มในเลือดหนูทำให้มีการติดเชื้อลดลงอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าวัคซีนต้นแบบมีภูมิคุ้มกันในการป้องกันเชื้อโรคได้ ซึ่งวัคซีนต้นแบบนี้ จะนำไปทดลองในลิง และในคนต่อไป

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันชีววัตถุ เป็นห้องปฏิบัติการในการควบคุมคุณภาพวัคซีนภาครัฐ ซึ่งองค์การอนามัยโลกให้การรับรองเป็นห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานในระดับภูมิภาค สำหรับการวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ในประเทศ

กรมวิทย์ฯ ได้ช่วยตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในหนูที่ได้รับวัคซีนต้นแบบ โดยวิธี plaque reduction neutralization test (PRNT) ซึ่งต้องทดสอบโดยใช้เชื้อไวรัสโควิด 19 ภายใต้ระดับความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ 3

การทดลองโดยนำซีรั่มจากเลือดหนูที่ได้รับวัคซีนต้นแบบมาเจือจางที่ระดับต่างๆกัน จากนั้นนำมาผสมกับไวรัสโควิด 19 ก่อนนำไปใส่ลงในเซลล์แล้วนำไปบ่มในอุณหภูมิที่เหมาะสม นาน 6 วัน จากนั้นนำไปย้อมสีและตรวจนับจำนวนไวรัส

ถ้าซีรั่มในเลือดไม่มีภูมิคุ้มกัน เซลล์ก็จะติดเชื้อ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเซรั่มในเลือดมีภูมิคุ้มกันสามารถป้องกันเชื้อได้ ไวรัสที่อยู่ในเซลล์ที่มีการติดเชื้อจะลดลงอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ได้ ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าสามารถป้องกันโรคได้ดีหรือไม่ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนและยอมรับ

“ส่วนในประเด็นเรื่องของการจะได้ใช้วัคซีนเมื่อไหร่นั้น เป็นเรื่องของอนาคตยังไม่สามารถตอบได้ ซึ่งบางประเทศรายงานเร็วที่สุดต้นปี 2564 บางประเทศรายงานปลายปี 2564 ซึ่งการวิจัยพัฒนาวัคซีนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ละขั้นตอนต้องทดสอบในสิ่งมีชีวิตทำให้ผลที่ได้มีความแปรปรวนของการทดสอบ จึงคาดการณ์ได้ยากว่าวัคซีนที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยและมีประสิทธิผลนั้น จะสำเร็จได้เมื่อใด” นายแพทย์โอภาสกล่าว บาคาร่าออนไลน์